บทความที่ 3
3.ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิชาการ
ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารวิชาการ เป็นการจัดระบบสารสนเทศเกี่ยวกับหลักสูตรและการเรียนการสอน การวัดและการประเมิน ผลการพัฒนากิจกรรมแนะแนวและการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยมีตัวอย่างรายงานของระบบสารสนเทศ เช่น หลักสูตรและการเรียนการสอน การวัดและการประเมินผลการเรียน การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน/กิจกรรมแนะแนว การวิจัยในชั้นเรียน เป็นต้น
4.ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ
ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ เป็นระบบสารสนเทศที่ต้องมีการประมวลผลรวม มีการเปรียบเทียบข้อมูลอย่างถูกต้องและทันสมัยจึงมีความหมายต่อการจัดการและการบริหารงานอย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ โดยมีตัวอย่างรายงานของระบบสารสนเทศ เช่น สภาพการบริหารและการจัดการ ความสอดคล้องระหว่างวิสัยทัศน์ ภารกิจและเป้าหมายการพัฒนา สภาพและบรรยากาศการเรียนรู้ ทรัพยากรและสิ่งอำนวยความสะดวก การพัฒนาวิชาชีพ ความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับผู้ปกครองและชุมชน เป็นต้น
บทความที่ 2
1. ระบบสารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษา
ระบบสารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษา ประกอบด้วยข้อมูลและสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับภาพรวมของสถานศึกษา สภาพเศรษฐกิจ การเมือง สังคม ความต้องการของ ชุมชน สภาพการบริหารและการจัดการตามโครงสร้างและภารกิจ เป็นต้น โดยมีตัวอย่างรายงานในระบบสารสนเทศ เช่น ข้อมูลทั่วไปของสถานศึกษา ศักยภาพของสถานศึกษา ความต้องการของชุมชน แนวโน้มการพัฒนาท้องถิ่น แนวทางการจัดการศึกษา และการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา/คณะกรรมการนักเรียน เป็นต้น
2.ระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับผู้เรียน
ระบบสารสนเทศเกี่ยวกับผู้เรียน เป็นระบบสารสนเทศที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้เรียนทั้งหมด โดยมีตัวอย่างรายงานของระบบสารสนเทศ เช่น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน ผลงานและการแสดงออกของผู้เรียน รูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน เป็นต้น
บทความที่ 1
ประเภทของนวัตกรรมทางการศึกษา
ประเภทตามเนื้องาน
1. นวัตกรรมด้านระบบการศึกษา เช่น การศึกษารายบุคคล ระบบการสอนทางไกล การสอนระบบเปิด การศึกษานอกระบบโรงเรียน
2. นวัตกรรมด้านหลักสูตรเช่นหลักสูตรแบบบูรณาการ หลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง หลักสูตรการศึกษาผู้ใหญ่
3. นวัตกรรมด้านการเรียนการสอน เช่น การสอนเป็นคณะ ชุดการสอน บทเรียนโปรแกรม ศูนย์การเรียน การเรียนด้วยตนเอง การสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การสอนแบบ คอนสทรัคทิวิสซึ่ม การสอนแบบคอล์แลปบอราทอรี่ (ร่วมมือกัน)
4. นวัตกรรมด้านการสื่อสารและเทคโนโลยีทางการศึกษา เช่น สไลด์ วีดิทัศน์ วิทยุ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) การสอนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือ อินเทอร์เน็ต (Web-based Instruction)หรือ e-Learning
5. นวัตกรรมด้านการประเมินผล เช่น การวัดผลแบบอิงกลุ่ม อิงเกณฑ์ การวัดผล ก่อนเรียน การวัดผลหลังเรียน การวิเคราะห์ ข้อสอบ
6. นวัตกรรมด้านการบริหารการศึกษา การใช้ทฤษฎีบริหารจัดการ การใช้คอมพิวเตอร์จัดเก็บข้อมูล ฯลฯ
งานชิ้นที่ 14 ชายหยาเรียนรู้blog
เขียนโดย หยา ชายภักตร์ รหัสประจำตัว 5246701003 on วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553จุดเด่นของการทำบล็อก
1. เป็นแหล่งเรียนรู้ ทำให้รู้ทันข่าวสารเหตุการณ์บ้านเมือง ใช้เทคโนโลยีเพื่อประโยชน์ต่อการศึกษา
2. ผู้เรียนสามารถค้นคว้าหาบล็อกด้วยตนเอง ด้วยกระบวนการเรียนรู้ด้วยบล็อก
3. เป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง และได้ฝึกใช้หลักวิเคราะห์เนื้อหา
4. การใช้บล็อกทำกิจกรรม เช่น การค้นคว้า การส่งงาน ส่งรายงาน การร่วมแสดงความเห็น หรือการอภิปราย มีความเป็นรูปธรรม และสามารถตรวจสอบได้
5. ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ความรับผิดชอบ ระเบียบวินัย ความซื่อสัตย์สุจริต
6. ผู้เรียนสามารถศึกษาอย่างลุ่มลึกในประเด็นที่มากกว่าเนื้อหาในการเรียนการสอนได้ตามความสนใจของแต่ละบุคคล
7. ฝึกให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็น ซึ่งกันและกันและเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ข้อเสนอแนะ
1. ควร มีจุดมุ่งหมาย หรือ จุดประสงค์ที่ชัดเจนว่าอยากสร้างบล็อกเกี่ยวกับอะไร และไม่ควรสร้างบล็อกเกี่ยวกับสิ่งที่ขัดต่อกฏหมายและศีลธรรม
2. ศึกษา แหล่งข้อมูลที่หลากหลายในเรื่องที่จะเขียน เพื่อให้มีความรู้และความเชื่อมั่น
3. ควรสร้างบล็อกที่มีการนำเสนอเนื้อหาเป็นลำดับขั้นตอน
4. ควรใช้ภาษาที่สุภาพ และใช้ภาษาให้ถูกต้อง
5. ไม่ควรลบข้อคิดเห็นของบุคคลอื่นที่เข้ามาเยี่ยมชม เว้นแต่เป็นข้อความก่อกวนหรือไม่สุภาพ
6. ไม่ควรพาดพิงสถาบัน องค์กร หรือบุคคลอื่น ในทางที่เสียหาย
7. ควรให้เกียรติแหล่งอ้างอิงต่าง ๆ ที่นำมาใช้ โดยแสดงชื่อของแหล่งอ้างอิง
8. ควรตอบปัญหาหรือแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นทันทีที่มีผู้อ่านได้ถามเข้ามา
9. ควรเอาใจใส่ ดูแล ไม่ทอดทิ้งบล็อกให้นิ่ง ควรปรับปรุงบล็อกให้มีเนื้อหาตลอด.
การเปรียบเทียบข้อดีของ blogspot และ blog go to know
ประโยชน์ของ Gotoknow
1. ใช้เป็นที่เก็บรวบรวมขุนความรู้
2. สามารถใช้เป็นที่เก็บภาพและข้อมูลได้
3. สามารถเข้าไปอ่านบันทึกและแสดงความคิดเห็นได้
4. ในบล็อกสามารถทำ Link ให้กับเว็บไซต์ที่เราสนใจได้
5. บล็อกสามารถเปิดพร้อมกันหลาย ๆ หน้าต่างได้และสามารถแก้ไขบันทึก 2 บันทึกขึ้นไปพร้อมกันได้
6. การเขียนบันทึกใน word จะเอามาลงใน Gotoknow โดยตรงตัวอักษรจะมีขนาดคงที่
7. ได้พบเพื่อนใหม่ที่สนใจในเรื่องเดียวกัน
8. ภาพที่ใส่ในบันทึกจะคมชัดกว่า (ภาพเดียวกันที่ใส่) ใน Word
9. ระบบบล็อกของ GotoKnow สามารถตกแต่งรูปลักษณ์ได้สารพัด
10. การกรอกประวัติ gotoknow จะให้กรอกประวัติได้ครบถ้วนชัดเจน
ประโยชน์ของ Blogspot
1. blogspot สามารถใส่ภาพประกอบได้
2. blogspot สามารถเข้าไปแก้ไขเพิ่มเติมข้อความ และลบข้อความได้
3. บันทึกแต่ละฉบับที่เราพิมพ์ใน blogspot เวลาเปิดดูจะแสดงเต็มหน้าและแต่ละฉบับจะต่อกันจนครบทุกฉบับ สามารถคลิกดูครั้งเดียวก็จะเห็นบันทึกทุกฉบับการเข้า
4. การเข้า webside blogspot จะเข้าง่ายกว่า
5. blogspot มี background รูปแบบพื้นหลังให้เลือกหลากหลาย
6. blogspot จะมีลูกเล่นที่น่าสนใจ เช่น การทำวีดีโอ วิทยุ นาฬิกา ปฏิทิน เป็นต้น
7. รูปแบบของบล็อกน่าในใจ และน่าติดตาม
8. อ่านบันทึกแล้วสามารถแสดงความคิดเห็นได้ และเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนได้
งานชิ้นที่ ๑๓ กิจกรรมประโยชน์ต่อสังคม/ความรู้สึก
เขียนโดย หยา ชายภักตร์ รหัสประจำตัว 5246701003 on วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553งานชิ้นที่ ๑๓ กิจกรรมประโยชน์ต่อสังคม/ความรู้สึก
งานชิ้นที่ ๑๓ กิจกรรมประโยชน์ต่อสังคมเป็นผู้อำนวยการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในวันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๕๓
วิชานี้ควรคิดว่าได้เกรดอะไรคิดว่าน่าจะเป็น A เพราะเนื่องจากความฝันอันสูงสุด ตั้งใจเรียนทุกคน เข้าเรียนทุกครั้ง เชื่อฟังอาจารย์ ปฏิบัติตามคำสั่งทุกเรื่อง ส่งงานครบ ที่สำคัญเรื่องยากที่อยากเรียนรู้ และโชคดีที่ได้เรียนรู้กับอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้ทรงความรู้ความสามารถจึงทำให้มีความรู้เรื่องนวัตกรรมและสารสนเทศมากขึ้น
มารู้จักโปรแกรมspss
มารู้จักการใช้โปรแกรม spss
โปรแกรม SPSS เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปที่นิยมใช้วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติอีกโปรแกรมหนึ่ง-การเริ่มต้นสู่โปรแกรม เมื่อคลิกที่โปรแกรม SPSS จะเข้าสู่โปรแกรมดังรูป ซึ่งหากมีแฟ้มข้อมูลเดิม จะสามารถเลือกจากหน้าต่างนี้ หากต้องการเริ่มต้นใหม่ ให้คลิก Cancel เพื่อเข้าสู่ส่วนตารางทำงาน หรือที่เรียกว่า Data Editorข้อกำหนดโปรแกรมทั่วไปSPSS แบ่งส่วนที่ใช้ป้อนข้อมูลเป็น sheet 2 ส่วน หรืออาจเรียกเป็น Tab ได้แก่Data View : เป็นส่วนสำหรับใส่ข้อมูล ซึ่งแสดงชื่อตัวแปรเป็น Var ทุกคอลัมน์เมื่อทำการป้อนข้อมูล จะเปลี่ยนเป็น Var00001 Var00002 … หากต้องการกำหนดชื่อตัวแปรเป็นอย่างอื่น ให้เลือกที่ Variable View จาก Sheet Tab ส่วนแถวจะอ้างอิงตั้งแต่ 1, 2, 3 ไปเรื่อย ๆ อย่างไรก็ตาม หากพบว่าตัวอักษรที่แสดงชื่อตัวแปรหรือแถว มีขนาดเล็กมองไม่สะดวก สามารถเปลี่ยนได้โดยการเลือกเมนู View \ Fonts… เพื่อเลือกชนิดอักษรและขนาดตามต้องการ ( แนะนำให้ใช้ MS San Serif ขนาด 10 point)Variable View : เป็นส่วนที่กำหนดลักษณะเฉพาะต่าง ๆ ของตัวแปร ได้แก่ ชื่อตัวแปร ( มีได้ไม่เกิน 8 ตัวอักษรรวมตัวเลข โดยห้ามเว้นช่องว่างหรือวรรค และห้ามมีสัญลักษณ์อื่น ๆ เช่น วงเล็บ เครื่องหมายบวก ลบ คูณ หาร เป็นต้น ) จำนวนทศนิยมความกว้างของคอลัมน์ Label ( ใช้ระบุรายละเอียดของตัวแปรซึ่งจำกัดเพียง 8 ตัวอักษร แต่ Label สามารถพิมพ์ข้อความได้มากกว่า รวมทั้งมีช่องว่างหรือสัญลักษณ์ใด ๆ ได้ ) เป็นต้น•การนำข้อมูลเข้าสู่ Work sheet หรือ Data Editorสำหรับการนำข้อมูลเข้าสู่ Data Editor สามารถทำได้หลายวิธี แต่ 2 วิธีที่นิยม ได้แก่•การเปิดไฟล์จากไฟล์ประเภทอื่น โดยโปรแกรม SPSS สามารถที่จะเปิดไฟล์ได้หลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นไฟล์จากโปรแกรม Excel, Lotus, Sysstat หรือ Dbase สามารถเปิดได้โดยใช้เมนู File \ Open \ Data จากนั้นเลือกชนิดของไฟล์ เลือก Drive และ Folder ให้ถูกต้อง•การป้อนข้อมูลโดยตรง ในการป้อนข้อมูล หากต้องการป้อนข้อมูลเข้าอย่างโดยตรงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ใน Data Editor สามารถทำการ Copy และ Paste ข้อมูลในลักษณะของ Spread sheet ทั่วไปได้ ทำให้สะดวกต่อการใช้ป้อนข้อมูล•เมนูสำหรับการวิเคราะห์ผลทางสถิติ ในการวิเคราะห์นั้น จะใช้เมนู Statistics โดยจะมีเมนูย่อยที่ใช้ในการวิเคราะห์ทางสถิติต่าง ๆ เช่น Descriptive Statistics, Compare Mean, General Linear Model, Correlation หรือ Regression เป็นต้นสิ่งที่อยากให้อาจารย์สอนเพิ่มเติม คือ การวิเคราะห์ข้อมูลในกรณีเปรียบเทียบ t-test แบบอิสระ t –test แบบไม่อิสระ
งานกลุ่ม การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ดูเอกสาร
สมาชิกในกลุ่ม
นายหยา ชายภักตร์ 5246701003
นางโชคดี จันทร์ทิพย์ 5246701015
นางอุบลรัตน์ นำนาผล 5246701031
นางวันเพ็ญ ชูโชติ 5246701034
นางสาวกัลยารัตน์ คชเชนทร์ 5246701036
นางกมลทิพย์ สงค์ดำ 5246701081